" คุณธรรมเป็นมาตรฐาน บริการด้วยใจ "

Opening Hours : open 24 hours, every day
Contact : 02 055 6555 , 02 901 8400 ถึง 8

การรักษานิ่วในถุงน้ำดี (LC) และนิ่วในท่อน้ำดี (ERCP) ด้วยเทคนิคผ่าตัดส่องกล้อง

การรักษานิ่วในถุงน้ำดี (LC) และนิ่วในท่อน้ำดี (ERCP) ด้วยเทคนิคผ่าตัดส่องกล้อง

การรักษานิ่วในถุงน้ำดี (LC) และนิ่วในท่อน้ำดี (ERCP) ด้วยเทคนิคผ่าตัดส่องกล้อง

นิ่วในถุงน้ำดีและนิ่วในท่อน้ำดีเป็นปัญหาสุขภาพที่พบบ่อยในระบบทางเดินน้ำดี โดยเฉพาะในกรณีที่เกิด ท่อน้ำดีอุดตัน หรือ ท่อน้ำดีอักเสบ ซึ่งอาจก่อให้เกิดอาการรุนแรงและภาวะแทรกซ้อนหากไม่ได้รับการรักษา การรักษาในปัจจุบันมีเทคโนโลยีส่องกล้องที่ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการวินิจฉัยและการรักษาได้อย่างแม่นยำ และลดผลภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้นต่อผู้ป่วย ในปัจจุบันแพทย์สามารถทำการรักษาผู้ป่วยที่มีนิ่วในถุงน้ำดี โดยใช้เทคนิคผ่าตัดส่องกล้องทางหน้าท้อง เพื่อรักษาผ่านิ่วในถุงน้ำดี และการส่องกล้องตรวจท่อทางเดินน้ำดี เพื่อรักษานิ่วในท่อดี โดยไม่ต้องผ่าตัดเปิดแผลใหญ่ แผลเล็กลงกว่าเดิม หายเร็วขึ้น ช่วยลดจำนวนวันพักรักษาตัวในโรงพยาบาล และประหยัดค่าใช้จ่ายในการรักษา ให้ปัญหาสุขภาพที่เป็นเรื่องใหญ่ เล็กลงได้

นิ่วในถุงน้ำดี: สาเหตุและอาการที่ต้องระวัง

นิ่วในถุงน้ำดี (Gall Stone) เกิดจากการตกผลึกของสารประกอบในน้ำดี เช่น แคลเซียม คอเลสเตอรอล และบิลิรูบิน ซึ่งส่งผลให้เกิดนิ่วที่มีขนาดแตกต่างกันในถุงน้ำดี โดยเฉพาะในกรณีที่นิ่วหลุดไปอุดตันในท่อน้ำดี อาจทำให้เกิดภาวะ ท่อน้ำดีอักเสบ และอาการแทรกซ้อนที่รุนแรงที่อันตรายถึงชีวิตได้ หากไม่ได้รับการรักษาอย่างเหมาะสม

การรักษานิ่วในถุงน้ำดี (LC) และนิ่วในท่อน้ำดี (ERCP) ด้วยเทคนิคผ่าตัดส่องกล้อง

นิ่วในถุงน้ำดีสามารถแบ่งออกเป็น 3 ประเภท

  • นิ่วคอเลสเตอรอล (Cholesterol Stones) ซึ่งมักมีสีเหลือง ขาว หรือเขียว เกิดจากการที่ร่างกายมีระดับคอเลสเตอรอลสูงจนเกิดการตกตะกอนของไขมันในถุงน้ำดี
  • นิ่วจากเม็ดสี (Pigment Stones) มีลักษณะเด่นคือสีคล้ำถึงดำ มักพบในผู้ป่วยที่มีความผิดปกติของเลือด เช่น โรคโลหิตจาง หรือโรคตับแข็ง
  • นิ่วโคลน (Mixed Gallstones) ซึ่งมีลักษณะเหนียวหนืดคล้ายโคลน สาเหตุมักเกิดจากการติดเชื้อบริเวณอวัยวะใกล้เคียง ไม่ว่าจะเป็นตับ ท่อน้ำดี หรือตับอ่อน

อาการของนิ่วในถุงน้ำดี
• ปวดท้องบริเวณขวาบน หรือใต้ซี่โครง โดยอาการปวดมักเกิดขึ้นหลังรับประทานอาหารที่มีไขมันสูง
• ปวดใต้ลิ้นปี่ ชายโครงด้านขวา
• คลื่นไส้ อาเจียน
• ท้องอืด แน่นท้อง
• ในกรณีก้อนนิ่วไปอุดตันในท่อน้ำดี น้ำดีจะไหลย้อนกลับไปที่ตับ ทำให้เกิดภาวะดีซ่าน ซึ่งแสดงออกมาในรูปแบบของอาการตัวเหลืองและตาเหลือง อาการนี้บ่งชี้ถึงความผิดปกติที่ต้องได้รับการรักษาอย่างเร่งด่วน การรักษาโดยการผ่าตัดส่องกล้องโดยเอานิ่วออก (ERCP) เป็นที่นิยมเนื่องจากมีประสิทธิภาพ ปลอดภัย และฟื้นตัวได้เร็วขึ้น

แนวทางการรักษา
การผ่าตัดนำถุงน้ำดีออกพร้อมนิ่ว เป็นวิธีที่ได้รับการยอมรับเนื่องจากมนุษย์สามารถใช้ชีวิตอยู่ได้ตามปกติโดยไม่มีถุงน้ำดี และการกำจัดถุงน้ำดียังช่วยป้องกันการเกิดนิ่วขึ้นมาใหม่ได้อีกในอนาคต

การผ่าตัดนิ่วในถุงน้ำดีสามารถทำได้ 2 วิธี

การผ่าตัดแบบเปิดหน้าท้อง โดยศัลยแพทย์จะทำการผ่าเปิดบริเวณชายโครงด้านขวา วิธีนี้มักเลือกใช้ในกรณีที่มีการอักเสบรุนแรง ถุงน้ำดีแตกทะลุ หรือในผู้ป่วยที่มีประวัติผ่าตัดหน้าท้องมาก่อนจนเกิดผังผืดมาก ซึ่งจะใช้เวลาพักฟื้นค่อนข้างนาน

การผ่าตัดส่องกล้อง (Laparoscopic Cholecystectomy เป็นการผ่าตัดผ่านกล้องผ่านทางหน้าท้อง เป็นวิธีแบบ Minimally Invasive Surgery โดยศัลยแพทย์จะใช้การเจาะรูขนาดเล็กที่หน้าท้อง เพื่อสอดกล้องและเครื่องมือผ่าตัดเข้าไป วิธีนี้ช่วยให้แพทย์มองเห็นพยาธิสภาพและอวัยวะภายในได้ชัดเจน รักษาได้ที่ต้นเหตุ แผลผ่าตัดมีขนาดเล็ก เจ็บน้อย ลดภาวะแทรกซ้อนจากการติดเชื้อ ฟื้นตัวเร็วขึ้น

การเตรียมตัวก่อนเข้ารับการผ่าตัดส่องกล้อง (Laparoscopic Cholecystectomy)
โดยผู้ป่วยต้องงดน้ำและอาหาร 6 – 8 ชั่วโมง และงดยาละลายลิ่มเลือด 3-5 วัน ขึ้นอยู่กับชนิดของยา สำหรับผู้ป่วยที่มีโรคประจำตัวเกี่ยวกับปอดหรือหัวใจ และอื่นๆ ควรแจ้งให้แพทย์ทราบล่วงหน้า และเข้ารับการประเมินความพร้อมของร่างกายจากแพทย์ พักผ่อนนอนหลับให้เพียงพอ 6 – 8 ชั่วโมงก่อนผ่าตัด

การรักษานิ่วในถุงน้ำดี (LC) และนิ่วในท่อน้ำดี (ERCP) ด้วยเทคนิคผ่าตัดส่องกล้อง

นิ่วในท่อน้ำดี: สาเหตุและอาการที่ต้องระวัง

นิ่วในท่อน้ำดี อาจเกิดจากนิ่วในถุงน้ำดีที่หลุดเข้ามาในท่อน้ำดีทำให้เกิดนิ่วในท่อน้ำดี ท่อน้ำดีอุดตัน ท่อน้ำดีอักเสบเฉียบพลัน หรืออาจเกิดจากการติดเชื้อและการอุดตันของท่อน้ำดีโดยตรง เมื่อนิ่วเคลื่อนตัวลงสู่ท่อน้ำดี ผู้ป่วยจะเริ่มมีอาการปวดท้องซึ่งอาจปวดแบบพักๆ หรือปวดต่อเนื่อง โดยความเจ็บปวดจะทวีความรุนแรงขึ้นและร้าวไปถึงด้านหลัง พร้อมกับอาการร่วมอื่นๆ เช่น คลื่นไส้ อาเจียน เหงื่อออกมาก และใจสั่น ซึ่งอาการเหล่านี้คล้ายคลึงกับอาการของผู้ป่วยที่มีนิ่วในถุงน้ำดี

การปล่อยไว้โดยไม่รับการรักษา อาจทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนร้ายแรง หากนิ่วเคลื่อนลงไปอุดตันที่ท่อน้ำดีส่วนปลายผู้ป่วยจะเริ่มมีอาการดีซ่าน ตาเหลือง ตัวเหลือง มีไข้ และปัสสาวะมีสีเข้มผิดปกติ ภาวะนี้อาจนำไปสู่การติดเชื้อแบคทีเรียในท่อน้ำดีอย่างรุนแรง ซึ่งอาจส่งผลต่อการเสียชีวิตได้ หรืออาจก่อให้เกิดตับอ่อนอักเสบเฉียบพลันได้

การวินิจฉัยและเทคนิคการรักษา

การวินิจฉัยโรค
การวินิจฉัยเป็นขั้นตอนสำคัญที่ช่วยในการกำหนดแนวทางการรักษาที่เหมาะสม โดยการตรวจวินิจฉัยจะช่วยให้แพทย์สามารถระบุได้ว่า ผู้ป่วยมีนิ่วในถุงน้ำดีหรือมีนิ่วในท่อน้ำดีหรือไม่ และวางแผนแนวทางการรักษา วิธีที่นิยมใช้ในการวินิจฉัยได้แก่:

  1. อัลตราซาวด์ (Ultrasound): เป็นวิธีที่นิยมใช้ในการตรวจหานิ่วในถุงน้ำดีและท่อน้ำดี เนื่องจากมีความแม่นยำสูงและไม่ต้องใช้รังสี
  2. CT Scan MRI หรือ MRCP: ช่วยประเมินโครงสร้างและความผิดปกติในท่อน้ำดี เพื่อให้เห็นภาพรวมที่ชัดเจนของทางเดินน้ำดี
  3. การส่องกล้องท่อน้ำดี: เป็นวิธีที่สามารถตรวจวินิจฉัยและรักษาได้ในขั้นตอนเดียว โดยไม่ต้องผ่าตัดใหญ่ ซึ่งช่วยให้แพทย์สามารถเอานิ่วออกได้ทันทีหากพบว่ามีการอุดตัน

การรักษานิ่วในท่อน้ำดี
การส่องกล้องตรวจรักษาท่อน้ำดี ERCP
การส่องกล้องตรวจรักษาท่อน้ำดี ERCP (Endoscopic Retrograde Cholangiopancreatography) เป็นเทคนิคสำคัญที่ช่วยในการรักษา นิ่วในท่อน้ำดี โดยสามารถทำการวินิจฉัยและการรักษาได้ในขั้นตอนเดียว เป็นวิธีการผ่าตัดส่องกล้องแบบMinimally Invasive Surgery ซึ่งแพทย์จะมองเห็นภาพท่อน้ำดี และอวัยวะต่างๆได้ชัดเจน โดยเป็นการส่องกล้องผ่านทางปาก จากนั้นแพทย์จะใช้บอลลูนหรือตะกร้อลวดขนาดเล็ก เพื่อนำนิ่วออกจากท่อน้ำดี แต่หากพบว่ามีก้อนเบียดซึ่งอาจเกี่ยวกับเนื้องอก แพทย์จะทำการตัดชิ้นเนื้อเพื่อส่งตรวจว่าเป็นเนื้อร้ายหรือไม่ และใส่ท่อระบายน้ำดี เพื่อบรรเทาอาการตัวเหลือง ตาเหลือง ในกรณีที่ผลตรวจพบว่าเป็นเนื้อร้าย แพทย์จะวางแผนการผ่าตัดเพื่อนำก้อนเนื้อออกต่อไป ข้อดีของการผ่าตัดส่องกล้อง ไม่มีแผลให้เห็นเนื่องจากเป็นการผ่าตัดส่องกล้องผ่านทางปาก เจ็บน้อย ลดโอกาสติดเชื้อ ฟื้นตัวไว

ภาวะแทรกซ้อนที่อาจพบได้คือตับอ่อนอักเสบหลังการส่องกล้อง เนื่องจากท่อตับอ่อนอยู่ติดกับรูเปิดของท่อน้ำดี และอาจเกิดการระคายเคือง โดยพบได้ประมาณ 3-5% ของผู้ป่วยทั้งหมด ส่วนใหญ่เป็นการอักเสบไม่รุนแรง และอาการจะดีขึ้นภายใน 1 – 2 วัน ด้วยการรักษาแบบประคับประคอง เช่น งดน้ำงดอาหาร ให้น้ำเกลือ และยาแก้ปวด

การเตรียมตัวก่อนผ่าตัดส่องกล้อง ERCP โดยผู้ป่วยต้องงดน้ำและอาหาร 6 – 8 ชั่วโมง และงดยาละลายลิ่มเลือด 3-5 วัน ขึ้นอยู่กับชนิดของยา สำหรับผู้ป่วยที่มีโรคประจำตัวเกี่ยวกับปอดหรือหัวใจ และอื่นๆ ควรแจ้งให้แพทย์ทราบล่วงหน้า และเข้ารับการประเมินความพร้อมของร่างกายจากแพทย์

ค่าใช้จ่ายและบริการการรักษา
โดยการผ่าตัดแบบส่องกล้องนิ่วในถุงน้ำดี (LC) และการส่องกล้องตรวจรักษาท่อน้ำดี หรือการส่องกล้องท่อน้ำดี (ERCP) ราคาค่าใช้จ่ายอาจแตกต่างกันขึ้นอยู่กับความซับซ้อนของแต่ละเคส ทั้งนี้ผู้ป่วยควรเข้ารับการตรวจวินิจฉัยและปรึกษาแพทย์ผู้ชำนาญการโดยตรงเพื่อรับทราบข้อมูลการรักษาและประมาณการค่าใช้จ่ายที่เหมาะสมกับอาการของท่าน

ผลกระทบหากไม่รักษา
หากปล่อยนิ่วในถุงน้ำดีหรือท่อน้ำดีโดยไม่ได้รับการรักษา อาจเกิดปัญหาภาวะแทรกซ้อนต่างๆได้ เช่น
• ถุงน้ำดีอักเสบเฉียบพลัน (Acute Cholecystitis)
• การติดเชื้อในท่อน้ำดี (Cholangitis)
• ตับอ่อนอักเสบ (Pancreatitis)
• ภาวะดีซ่าน ( Jaundice)

ดังนั้นจึงควรปรึกษาแพทย์เพื่อวางแผนการรักษาที่เหมาะสม เพื่อป้องกันภาวะแทรกซ้อนที่รุนแรงและอาจเป็นอันตรายถึงชีวิตได้

การรักษานิ่วในถุงน้ำดี (LC) และนิ่วในท่อน้ำดี (ERCP) ด้วยเทคนิคผ่าตัดส่องกล้อง

คำแนะนำสำหรับการดูแลตนเอง
1. หากมีอาการปวดท้องรุนแรง ตัวเหลือง หรือตาเหลือง ควรรีบพบแพทย์ทันที
2. หลีกเลี่ยงอาหารไขมันสูง
3. ดื่มน้ำให้เพียงพอเพื่อป้องกันการตกตะกอนในน้ำดี


การรักษาผ่าตัดนิ่วในถุงน้ำดีและท่อน้ำดีด้วยการผ่าตัดส่องกล้องนิ่วในถุงน้ำดี (LC) และการส่องกล้องตรวจรักษาท่อน้ำดี (ERCP) ถือเป็นวิธีการรักษาที่มีประสิทธิภาพสูงโดยไม่ต้องผ่าตัดเปิดแผลใหญ่ ซึ่งเป็นวิธีที่ได้มาตรฐานได้รับการยอมรับทางการแพทย์ และนำมาใช้ในโรงพยาบาลต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นโรงพยาบาลทั่วไป หรือศูนย์ผ่าตัดนิ่วเฉพาะทาง รวมถึงโรงพยาบาลภัทร-ธนบุรี ที่พร้อมให้บริการรักษาด้วยแพทย์มากประสบการณ์ และเทคโนโลยีการผ่าตัดส่องกล้องที่ทันสมัย

ด้วยเทคนิคการผ่าตัดส่องกล้อง ช่วยให้คุณกลับสู่ชีวิตที่ใช่ เร็วกว่าที่คิด ด้วยการรักษาที่ต้นเหตุ แผลเล็กลง เสียเลือดน้อยกว่าการผ่าตัดแบบเปิด และลดระยะเวลาในการพักฟื้นในโรงพยาบาล การวินิจฉัยและรักษาอย่างถูกต้องตั้งแต่ระยะแรกจะช่วยป้องกันภาวะแทรกซ้อนในระยะยาว รักษาได้อย่างมีประสิทธิภาพ และเพิ่มคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยให้ดียิ่งขึ้น ให้ทุกปัญหาสุขภาพเรื่องนิ่วของคุณที่เป็นเรื่องใหญ่ เล็กลงได้ ที่โรงพยาบาลภัทร-ธนบุรี

ติดต่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับการรักษาได้ที่
โรงพยาบาลภัทร-ธนบุรี โทร 02 901 8400 ถึง 8 ต่อ 1059, 1060

แพ็กเกจและโปรโมชั่น